จอดรถข้างฟุตบาท
หลายคน งงๆๆ จอดได้มัยหนอ....ข้างฟุตบาท
สับสบไม่น้อยเลยทีเดียวว่าสีต่างๆ ที่ทาขอบฟุตบาทไม่ว่าจะเป็นสีขาวเหลือง แดงเหลือง ขาวดำ ตกลงเขาทา สีขอบฟุตบาท เพื่ออะไร แล้วแต่ละสีนั้นบ่งบอกอะไรได้บ้าง จอดได้หรือไม่ เรามาหาคำตอบกัน…
--------------------------------------------------------
1. แถบสีเหลืองสลับขาว
หรือเรียกว่าป้าย ห้ามจอดรถ ทุกชนิด ที่มีลักษณะเป็นแถบสีเหลืองสลับสีขาว ซึ่งเราจะเห็นตามขอบฟุตบาท หรือขอบทางเท้าด้านซ้ายของทางเดินรถ เป็นเครื่องหมายแสดงว่า ห้ามจอดรถ ทุกชนิด ระหว่างแนวเขตที่กำหนด เว้นแต่การหยุดรถรับ-ส่งผู้โดยสาร หรือส่งของในระยะเวลาสั้นๆ เท่านั้น
2. แถบสีแดงสลับขาว
หรือเรียกว่าป้ายห้ามหยุดรถหรือ ห้ามจอดรถ ทุกชนิดระหว่างแนวเขตที่กำหนดเป็นอันขาด ซึ่งแน่นอนเลยว่า ห้ามจอดรถ ทิ้งไว้เลยแหละ หรือ ห้ามจอดรถ หรือหยุดรถเพื่อรับ-ส่งผู้โดยสารอีกด้วย รวมไปถึงการเรียกรถโดยสารทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นรถตู้ รถแท็กซี่ หรือรถรับจ้างอื่นๆ ให้จอดรับ-ส่ง ซึ่งอาจจะเป็นผลกระทบต่อการจราจรในภาพรวม ซึ่งเราจะเห็นแถบสีแดงสลับขาวที่ขอบฟุตบาท หรือขอบทางด้านซ้ายของทางเท้าเดินรถ หรือทางจราจรหรือที่อื่นๆ
3. แถบสีขาวดำ
จะมีลักษณะเป็นแถบสีขาวสลับสีดำนั่นเอง แสดงว่า สามารถจอดรถได้แต่ต้องชิดขอบทาง แต่อาจจะโดนจับได้ในกรณี เช่น จอดรถไม่ชิดขอบทาง, จอดบนคอสะพานหรือกลางสะพาน, จอดรถซ้อนคัน, จอดบริเวณที่มีเครื่องกั้นห้ามจอดรถที่เจ้าหน้าที่ตำรวจนำมาตั้งไว้ (เป็นบางเวลา) แถมสีขาวสลับดำยังแสดงหรือทำให้ปรากฏที่ขอบฟุตบาทหรือสิ่งกีดขวางอื่นๆ เพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเห็นขอบฟุตบาทหรือสิ่งกีดขวางนั้นๆ ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
-------------------------------------------------------------
CAR ACCESSORIES
ประดับยนต์,ตกแต่ง,ภายใน,ภายนอก,Car Accessories,เรื่องรถ
วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2560
วันพุธที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2560
ระวังไว้ ติดเครื่องยนต์สำหรับรถเกียร์ธรรมดา รู้ไว้ไม่เสียหาย
ระวัง ติดเครื่องยนต์สำหรับรถเกียร์ธรรมดา
รถยนต์ในยุคปัจจุบันส่วนใหญ่ จะมีการผลิตระบบส่งกำลังหรือเกียร์อัตโนมัติที่มากขึ้นกว่าแต่ก่อนซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า มีความสะดวกสบายอย่างเห็นได้ชัดเจน บวกกับการจราจรที่มีการติดขัดอย่างมาก(ที่สุด) เลยทำให้มีความนิยมกันอย่างแพร่หลาย แต่ถึงกระนั้น ยังมีอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังคงเลือกใช้ระบบส่งกำลังที่เป็นเกียร์ธรรมดาอยู่ ซึ่งก็มีให้เลือกหลายยี่ห้อและหลายรุ่นด้วยกันตามลักษณะของการใช้งาน ทางผู้ผลิตรถยนต์เองก็ต่างคิดค้นพัฒนาสิ่งต่างๆ เพื่อที่จะให้ระบบส่งกำลังแบบเกียร์ธรรมดา สะดวกสบายมากที่สุด คุ้มค่าสูงสุด ทนทานสูงสุด มีความปลอดภัยสูงสุด เป็นต้น
เรื่องมีอยู่ว่า ในการติดเครื่องยนต์ของรถเกียร์ธรรมดา ที่มีอยู่หลายรุ่นหลายแบบมีข้อกำหนดหรือเงื่อนไขว่า ในการติดเครื่องยนต์ในแต่ละครั้งนั้น จะต้องมีการเหยียบคลัทซ์ค้างไว้ จากนั้นให้ทำการบิดกุญแจสตาร์ท หรือ กดปุ่มสตาร์ทก็ตาม ระบบถึงจะทำการสตาร์ทได้ เมื่อเครื่องยนต์ติดแล้วให้ทำการถอนเท้าออกจากคันเหยียบคลัทซ์ เรียกได้ว่าป้องกันการเกิดอุบัติเหตุนั้นเอง
แต่ถึงกระนั้น ก็ยังมีความไม่ปลอดภัยอาจจะเกิดขึ้นได้อยู่ดี ดังนั้น จะขออธิบายให้ทราบ ดังนี้ครับ (ด้วยความเผลอของมนุษย์หรือการกระทำของมนุษย์) ในการติดเครื่องยนต์บางท่านก็ตรวจสอบตำแหน่งเกียร์ บางท่านก็ไม่ตรวจสอบตำแหน่งเกียร์ จุดนี้เองอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ หมายความว่า ทำการสตาร์ทรถหรือติดเครื่องยนต์ เงื่อนไข ต้องเหยียบคลัทซ์ค้างไว้ มิฉะนั้น จะทำการสตาร์ทไม่ได้ แต่พอเครื่องยนต์ติดแล้ว ทำการถอนการเหยียบคลัทซ์โดยทันที หากมีการเข้าเกียร์ค้างไว้ แล้วถอนคลัทซ์หลังจากเครื่องยนต์ติดแล้ว รถจะกระโจนโดยทันทีหรือมีการเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่เข้าเกียร์นั้นๆอยู่ หากมีวัตถุไม่ว่าจะอยู่ด้านหน้าหรือด้านท้ายของรถ ตลอดจนบริเวณข้างๆ ย่อมเกิดความเสียหายแน่ ๆ ครับ
ดังนั้น ในการติดเครื่องยนต์แต่ละครั้ง เพื่อความปลอดภัย ควรให้ตำแหน่งเกียร์เป็นตำแหน่งเกียร์ว่าง(ทุกครั้ง) เป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น ตามที่กล่าวมานะครับผม
รถยนต์ในยุคปัจจุบันส่วนใหญ่ จะมีการผลิตระบบส่งกำลังหรือเกียร์อัตโนมัติที่มากขึ้นกว่าแต่ก่อนซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า มีความสะดวกสบายอย่างเห็นได้ชัดเจน บวกกับการจราจรที่มีการติดขัดอย่างมาก(ที่สุด) เลยทำให้มีความนิยมกันอย่างแพร่หลาย แต่ถึงกระนั้น ยังมีอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังคงเลือกใช้ระบบส่งกำลังที่เป็นเกียร์ธรรมดาอยู่ ซึ่งก็มีให้เลือกหลายยี่ห้อและหลายรุ่นด้วยกันตามลักษณะของการใช้งาน ทางผู้ผลิตรถยนต์เองก็ต่างคิดค้นพัฒนาสิ่งต่างๆ เพื่อที่จะให้ระบบส่งกำลังแบบเกียร์ธรรมดา สะดวกสบายมากที่สุด คุ้มค่าสูงสุด ทนทานสูงสุด มีความปลอดภัยสูงสุด เป็นต้น
เรื่องมีอยู่ว่า ในการติดเครื่องยนต์ของรถเกียร์ธรรมดา ที่มีอยู่หลายรุ่นหลายแบบมีข้อกำหนดหรือเงื่อนไขว่า ในการติดเครื่องยนต์ในแต่ละครั้งนั้น จะต้องมีการเหยียบคลัทซ์ค้างไว้ จากนั้นให้ทำการบิดกุญแจสตาร์ท หรือ กดปุ่มสตาร์ทก็ตาม ระบบถึงจะทำการสตาร์ทได้ เมื่อเครื่องยนต์ติดแล้วให้ทำการถอนเท้าออกจากคันเหยียบคลัทซ์ เรียกได้ว่าป้องกันการเกิดอุบัติเหตุนั้นเอง
แต่ถึงกระนั้น ก็ยังมีความไม่ปลอดภัยอาจจะเกิดขึ้นได้อยู่ดี ดังนั้น จะขออธิบายให้ทราบ ดังนี้ครับ (ด้วยความเผลอของมนุษย์หรือการกระทำของมนุษย์) ในการติดเครื่องยนต์บางท่านก็ตรวจสอบตำแหน่งเกียร์ บางท่านก็ไม่ตรวจสอบตำแหน่งเกียร์ จุดนี้เองอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ หมายความว่า ทำการสตาร์ทรถหรือติดเครื่องยนต์ เงื่อนไข ต้องเหยียบคลัทซ์ค้างไว้ มิฉะนั้น จะทำการสตาร์ทไม่ได้ แต่พอเครื่องยนต์ติดแล้ว ทำการถอนการเหยียบคลัทซ์โดยทันที หากมีการเข้าเกียร์ค้างไว้ แล้วถอนคลัทซ์หลังจากเครื่องยนต์ติดแล้ว รถจะกระโจนโดยทันทีหรือมีการเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่เข้าเกียร์นั้นๆอยู่ หากมีวัตถุไม่ว่าจะอยู่ด้านหน้าหรือด้านท้ายของรถ ตลอดจนบริเวณข้างๆ ย่อมเกิดความเสียหายแน่ ๆ ครับ
ดังนั้น ในการติดเครื่องยนต์แต่ละครั้ง เพื่อความปลอดภัย ควรให้ตำแหน่งเกียร์เป็นตำแหน่งเกียร์ว่าง(ทุกครั้ง) เป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น ตามที่กล่าวมานะครับผม
วันอังคารที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2560
รถใหม่ป้ายแดงควรรู้
รถใหม่ป้ายแดงควรรู้ 1 ต.ค.จับป้ายแดง จี้จดทะเบียนให้เสร็จภายใน 60 วัน
กรมขนส่ง และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประกาศกวดขันรถยนต์ป้ายแดง 1 ตุลาคม-31 ธันวาคม 2560 ใช้มาตรการเข้มงวดรถป้ายแดง นานเกิน 60 วันนับจากรับรถ จนกว่ากฎหมายยกเลิกป้ายแดงจะมีผลบังคับใช้
เพื่อให้ประชาชนและผู้จำหน่ายรถมีการปรับตัว จึงได้กำหนดแนวทางดำเนินการบังคับมาตรการทางกฎหมายแบบเป็นขั้นตอน ร่วมกับการสร้างความเข้าใจ การรับรู้ โดยจะเริ่มบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายตรวจสอบรถป้ายแดงที่ยังไม่จดทะเบียนนานเกิน 60 วัน นับแต่วันรับรถ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม – 31 ธันวาคม 2560 เป็นต้นไป
หากพบการฝ่าฝืนจะพิจารณาอัตราเปรียบเทียบปรับในอัตราเบื้องต้น ควบคู่กับการแนะนำและตักเตือน พร้อมชี้แจงมาตรการการบังคับใช้กฎหมายซึ่งจะมีความเข้มข้นขึ้น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป กรมการขนส่งทางบกและสำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการเข้มงวดตรวจจับรถป้ายแดงที่ยังไม่จดทะเบียนเกิน 30 วัน นับจากวันรับรถ
หากพบการฝ่าฝืนจะพิจารณาอัตราเปรียบเทียบปรับในอัตราเบื้องต้น ควบคู่กับการแนะนำและตักเตือน พร้อมชี้แจงมาตรการการบังคับใช้กฎหมายซึ่งจะมีความเข้มข้นขึ้น ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป กรมการขนส่งทางบกและสำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการเข้มงวดตรวจจับรถป้ายแดงที่ยังไม่จดทะเบียนเกิน 30 วัน นับจากวันรับรถ
หากพบการใช้งานป้ายแดงเกินกำหนดระยะเวลา เปรียบเทียบปรับในฐานความผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 6 ฐานใช้รถที่ยังไม่จดทะเบียน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท โดยจะดำเนินการตรวจจับอย่างต่อเนื่องเข้มข้นไปจนกว่ากฎหมายยกเลิกการใช้ป้ายแดงจะมีผลบังคับใช้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)